วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2552

การเลี้ยงปลาคาร์ฟ


ปลาคาร์ฟ

.....ปลาเงินล้าน ที่มีคนนิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบันชนิดหนึ่ง คือ ปลาคาร์ฟ หรืออีกชื่อว่า แฟนซีคาร์ฟ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะมันเลี้ยงง่าย โตไว อีกทั้งยังมีสีสันสวยงามอีกด้วย และเป็นปลาที่มีอายุยืนที่สุดในโลก เช่นปลาคาร์ฟ ชื่อ "ฮานาโกะ" ของนายแพทย์ผู้หนึ่งที่เมืองกูฟี ประเทศญี่ปุ่น มีอายุยืนถึง 266 ปี.....ปลาคาร์ฟ ทางสมาพันธ์ ผู้เลี้ยงปลาแฟนซีคาร์ฟแห่งญี่ปุ่น ได้แบ่งประเภทได้ดังต่อไปนี้
1. โคฮากุ -> มีสีแดงขาวสลับกัน นับเป็นพันธุ์มารตฐานที่นิยมเลี้ยงกันมาก
2. ไทโช-ซันเก้ -> มีสีขาวแดง และดำสลับกัน แต่ที่หัวจะมีสีแดงเป็นหลักมีสีดำมาสลับ
3. โชวา-ซันโซกุ -> มีสีแดง ขาว และดำ โดยมีสีแดงขาวเป็นหลัก และมีสีดำมาสลับลำตัวถึงใต้ท้อง
4. อุตซูริโมนะ -> มีสีดำเป็นลายแถบ คล้ายตาข่ายสลับด้วยสีขาว
5. เบกโกะ -> มีลายเหมือนกระดองเต่า มีสีดำเป็นตาสลับเหมือนตาข่ายตลอดทั้งลำตัว เกล็ดสีขาว
6. อาซากิ ซูซุย -> พันธุ์นี้ผสมของเยรมัน มีวีน้ำเงินอ่อนสลับเทา มีลายเหมือนตาข่ายคลุมอยู่ทั้งตัว
7. โคโรโมะ -> พันธุ์นี้ผสมระหว่างโคฮากุกับอาซากิ ลำตัวจึงมีเกล็ดสีน้ำเงินเหลือบผสมตลอดทั้งตัว
8. คาวาริโมโนะ -> พันธุ์นี้มีสีสันประหลาดกว่าปลาพันธุ์อื่น เข้าใจว่าเกิดจากการผสมระหว่างพันธุ์เบกโกะกับคินกินริน
9. โอกอน -> พันธุ์เหลืองทองมีเกล็ดสีขาวเงางาม และมีสีทองผสมกับสีเหลืองอร่ามทั้งตัว
10.ฮิการิ-อุตซูริโมนะ -> ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีสีแดงเป็นหลักสลับดำตลอดทั้งตัว
11.ฮิการิโมโย-โมนะ -> ลำตัวสีเหลืองอ่อน มีสีแดงเป็นหลักสลับกันตลอดทั้งตัว
12.คินกินริน -> เกร็ดสีทองและเงินสลับกันทั้งตัว กลางลำตัวและส่วนท้ายมีสีแดงมาปะปนบ้าง
13.ตันโจ -> ลำตัวขาวบริสุทธิ์ ที่หัวมีจุดสีแดงเข้ม พันธุ์นี้ดูสวยงามอละเด่นกว่าพันธุ์อื่นมากวิธีเลี้ยงปลาคาร์ฟ -> ควรเริ่มต้นด้วยการขุดบ่อขนาด 80 x 120 ลึก 50 เซนติเมตร มีสะดือที่ก้นบ่อขนาด 1 x 2 ฟุต ลึกประมาณ 4-6 นิ้ว เพื่อเป็นไว้ที่เก็บปลาและสิ่งสกปรก และติดตั้งระบบถ่ายเทน้ำเสียเพื่อช่วยให้น้ำในบ่อสะอาดอยู่ตลอดเวลาด้วยบ่อที่จะใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ -> ควรเป็นบ่อซีเมนต์เพราะสามารถดัดแปลงเป็นบ่อธรรมชาติได้ง่าย มีตะใคร่น้ำเกิดและเกาะได้เร็ว ซึ่งตะใคร่น้ำนั้นจะเป็นอาหารที่ดีของปลาและสามารถดูดสิ่งสกปรหและแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำได้อีกด้วย และบ่อนี้ควรจะตั้งอยู่ในที่มีร่มเงาต้นไม้ใหญ่ได้ร่มรื่นพอควร อย่าให้อยู่กลางแจ้งเพราะจะทำให้ปลามีสัสันที่จืดจางลง และยังโตช้าลงไปอีกด้วยน้ำที่ใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ -> ควรเป็นน้ำประปาจะดีกว่าน้ำชนิดอื่น เพราะน้ำประปามีสภาพเป็นกลาง ถ้าใช้น้ำฝนจะทำลายสีของปลาและปลาอาจเกิดโรคได้ง่าย ส่วนน้ำจากแม่น้ำลำคลองก็ไม่เหมาะ เพราะอาจมีเชื้อโรคติดมาเป็นอันตรายกับปลาได้ หากไม่มีน้ำประปา ต้องใส่ยาฆ่าเชื้อและเติมปูนขาวเพื่อปรับสภาพน้ำจากกรดให้เป็นกลางเสียก่อน แล้วค่อยนำมาเลี้ยงปลาได้บ่อที่ใช้เลี้ยงปลาคาร์ฟ (เพิ่มเติม) -> ทางที่ดีต้องติดตั้งระบบหมุนเวียนของน้ำ และเครื่องพ่นน้ำ เป็นการเพิ่มออกซิเจนให้น้ำในบ่อถ่ายเทอยู่ตลอดเวลา และมีออกซิเจนเพียงพอกับปลาด้วยการนำปลาคาร์ฟมาเลี้ยง -> เมื่อเตรียมบ่อและน้ำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว การจะหาปลาคาร์ฟมาเลี้ยง ควรหาลูกปลาที่มีอายุ 1-2 ปี มาเลี้ยง ไม่ควรจะนำปลาขนาดใหญ่มาเลี้ยง และปลาชนิดอื่นหากไม่จำเป็นไม่ควรนำมาเลี้ยงรวมกับปลาคาร์ฟ เพราะอาจนำเชื้อโรคมาให้ปลาคาร์ฟได้อาหารที่ปลาคาร์ฟชอบ -> คือ เนื้อปลาป่น กุ้งสดบด เนื้อหอย เนื้อปู ปลาหมึก ข้าวสาลี รำ ผักกาด ข้าวโพด แมลง สาหร่าย ตะใคร่น้ำ แหน ลูกน้ำ หนอนแดง ถั่วเหลือง ขนมปัง และอาหารสำเร็จรูปที่มีขายตามท้องตลาดหลักการให้อาหารปลาคาร์ฟ -> ควรให้ไม่เกินวันละ 2 เวลา คือเช้ากับเย็น ข้อควรจำในการให้อาหารคือ ต้องให้ตามเวลา เพื่อปลาจะเกิดความเคยชินและเชื่องกับผู้ที่เลี้ยง และอาหารที่ให้ต้องกะให้พอกับจำนวนปลา อย่าให้น้อยหรือมากเกินไป ทั้งนี้ต้องคอยสังเกตว่า ปลากินอาหารอย่างไร? ถ้าอาหารหมดเร็ว แสดงว่าปลายังต้องการอาหารเพิ่ม ก็เพิ่มลงไปอีเล็กน้อย แต่ถ้าอาหารยังลอบน้ำอยู่ ก็รีบตักออกเพราะว่าถ้าปล่อยทิ้งไว้จะทำให้น้ำเสียเร็วการเปลี่ยนน้ำ -> เมื่อสังเกตเห็นน้ำในบ่อเริ่มขุ่นและมีสิ่งสกปรกมาก ต้องรีบเปลี่ยนน้ำทันที และขณะที่ถ่ายน้ำ ออก 1 ใน 3 ส่วนของบ่อจะต้องเพิ่มน้ำใหม่แทนในปริมาณเท่าเดิมโดยใช้น้ำประปาที่เก็บไว้ประมาณ 2-3 วันหลังจากที่คอรีนระเหยแล้ว อย่าใช้น้ำประปาที่รองจากก๊อกใหม่ๆ หรือน้ำประปาที่เก็บไว้นานเพราะจะเกิดอันตรายต่อปลาได้การรักษาระดับอุณหภูมิน้ำในบ่อ -> ควรรักษาระดับอุหภูมิของน้ำในบ่อ ให้อยู่ในระดับ 20-25 องศาเซ็นติเกรด หากร้อนจัดหรือเย็นจัด จะทำให้ปลาเติบตอย่างเชื่องช้าการรักษาและป้องกันโรคของปลาคาร์ฟ -> โรคที่เกิดขึ้นมีดังต่อไปนี้ :)
1.โรคโซโคลกิต้า -> เกิดจากการถ่ายน้ำในบ่อบ่อยครั้งเกินไป การย้ายปลาบ่อยครั้งเกินไป เชื้อโคลกิต้าที่อยู่ในน้ำจะทำลายปลา ทำให้เกิดเป็นแผลขุ่นที่ผิวหนังและตายไปในที่สุดวิธีรักษา -> ควรใช้เกลือป่นและด่างทัทิมละลายละลายให้เจือจางลงในน้ำ เพื่อฆ่าเชื้อโซโคลกิต้า ก่อนจะนำไปใช้เลี้ยงปลา สำหรับในรายที่ปลาเป็นโรคนี้ ให้แช่ปลาในน้ำยานี้ประมาณ 1-2 ชั่วโมง
2.เหงือกเน่า -> เกิดจากเชื้อราคอลัม พาริส ทำให้ปลามีอาการซึม และกินอาหารได้น้อยลง ไม่มีแรงว่ายวิธีรักษา -> ใช้ยาปฏิชีวนะ ออริโอมัยซินผสมกับอาหาร ในอัตราส่วน 1 ช้อนต่ออาหารปลา 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกัน 3-4 วัน และจับปลาที่มีอาการมากในน้ำที่ผสมกับฟูราเนสเป็นเวลา 10 นาทีทุกวัน จนปลามีอาการดีขึ้น
3.หางและครีบเน่า -> เกิดจากเชื้อแบคทีเรียในน้ำซึ่งเนื่องมาจากปลาขี้และเศษอาหาร ที่ตกค้างอยู่ในบ่อทำให้ครีบและปลายหางหลุดหายไป และจะลามไปทั่วตัววิธีรักษา -> ต้องรีบถ่ายน้ำ ทำความสะอาดบ่อโดยเร็วพร้อมกันนั้น ใช้มาลาไคท์กรีนผสมกับน้ำในอัตรา 1 ขีด ต่อน้ำ 1 ลิตร จับปลาแช่ในน้ำดังกล่าวติดต่อกัน 3-4 วัน จนดีขึ้น
4.เนื้อแหว่ง -> เกิดจากปลาได้รับบาดเจ็บเพราะถูกหินหรือต้นไม้ในบ่อ จนเป็นแผลแล้วเชื้อโรคจากน้ำที่สกปรกเกาะตามผิวหนัง ทำให้เกล็ดหลุดแล้วมีจุดขาวๆ ตามลำตัวเกาะติดตามผิวหนัง ทำให้เกิดอาการอักเสบบวมเป็นรอยช้ำเลือด จนตายไปในที่สุดวิธีรักษา -> ใช้ยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน ผสมกับอาหารในอัตรา 1 ช้อนชา ต่ออาการ 1 ขีด ให้ปลากินติดต่อกันจนหายขาด
5.เชื้อราบนผิวหนัง -> เกิดจากเชื้อราแพร่กระจายบนผิวหนังปลา ทำให้เนื้อปลาเน่าเปื่อย ถ้าไม่รีบเร่งรักษาปลาจะตายเร็ววันวิธีรักษา -> นำปลามาแช่ในน้ำที่เจือด้วยเกลือป่นจางเอาสำลีชุบน้ำยาฟูราเนสทำความสะอาดที่บาดแผลแล้วจับปลาแช่ในน้ำผสมยา ฟูราเนสติดต่อกัน 5-7 วัน จนกว่าปลาจะหายขาด
6.ผิวหนังขุ่น เกล็ดพอง -> เกิดจากการที่ให้อาหารที่มีโปรตีนและไขมันมากเกินไป ปลาปรับตัวไม่ทัน จะทำให้ระบบย่อยอาหารของปลาไม่ทำงาน ตามผิวหนังจะเห็นรอยเส้นเลือดขอดขึ้น ผิวหนังเริ่มบวมและอักเสบวิธีการรักษา -> ต้องแช่ปลาในน้ำเกลือจางๆ และให้กินอาหารผสมด้วยยาปฏิชีวนะออริโอมัยซิน และให้กินอาหารประเภทผักเสริมมากกว่าเดิม
7.ลำใส้อักเสบ -> เกิดจากการที่ปลากินอาหารหมดอายุ มีเชื้อราปนอยู่ในอาหาร อาการเช่นนี้จทำให้ปลาไม่ค่อยกินอาหาร มีมูกเลือดปนออกมากับอุจจาระ บางครั้งจะถ่ายออกมาเป็นน้ำขุ่นๆวิธีรักษา -> ต้องรีบทิ้งอาหารเก่าทั้งหมด เอาปาขึ้นมาแช่น้ำเกลือที่เจือจาง แล้วให้อาหารอ่อนๆ เช่น ลูกไรแดงหรือเนื้อปลาบดอ่อน แล้วค่อยให้อาหารสำเร็จรูปตามปกติ
8.เห็บ -> เกิดจากตัวที่ติดมากับอาหารประเภทผัก ซึ่งขาดการทำความสะอาดอย่างถูกต้อง และติดตัวมากับปลาตัวใหม่ ตัวเห็บนี้มักจะเกาะอยู่ใต้เกล็ดปลา ดูดเลือดปลาเป็นอาหาร ทำให้ปลาว่ายน้ำติดขัดไม่สะดวก ปลาจะเอาตัวถูตามผนังบ่อหรือเศษหินภายในบ่อ จนเกิดบาดแผลในเวลาต่อมาวิธีรักษา -> ใช้น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อเพื่อป้องกัน ทำลายตัวเห็บติดต่อกันราว 2-3 อาทิตย์ แล้วค่อยหยุดใช้ยา
9.หนอนสมอ -> ศัตรูร้ายอีกชนิดหนึ่งของปลาคือ หนอนรูปร่างคล้ายสมอ ยาวเหมือนเส้นด้าย มันจะเจาะผนังตัวปลาทำให้ติดเชื้อได้ และตามผิวหนังปลาจะมีรอยสีแดงเป็นจ้ำๆ ครีบและเหงือกจะอักเสบ ปลามีอาการซึมเบื่ออาหารวิธีรักษา -> เช่นเดียวกับการรักษาเห็บ กล่าวคือ นำน้ำยามาโซเต็นผสมกับน้ำ จับปลาแช่น้ำยาทุกๆ 3 วัน จนกระทั่งปลามีอาการดีขึ้น และในบ่อเลี้ยงก็ควรหยดน้ำยานี้ลงฆ่าทำลายไข่ตัวหนอนสมอด้วย
10.พยาธิเส้นด้าย -> ติดมาจากอาหาร ลูกน้ำหนอนแดง ที่ปลากินเข้าไป จะเจาะเข้าไปเจริญเติบโตในตัวปลา และออกมาสร้างรังตามผิวหนังใต้เกล็ดปลา ทำให้ผิวหนังปลาแดงช้ำๆวิธีรักษา -> ให้นำปลาไปแช่ในน้ำเกลือที่เจือจางประมาณ 1-2 วัน พยาธิก็จะตายและปลามีอาการดีขึ้นและควรใส่น้ำยามาโซเต็นผสมลงในบ่อ เพื่อฆ่าใข่ของมันด้วยการเพาะพันธุ์ปลาคาร์ฟ -> การเพาะพันธุ์ปลาคาร์ฟ ต้องเริ่มจากการคัดเลือกพันธุ์พ่อ พันธุ์แม่ที่ดีก่อน ทั้งนี้ เพื่อจะได้ลูกปลาที่ดีและแข็งแรงหลักการพิจารณาคัดเลือกพันธุ์ -> การเลือกพันธุ์ พ่อ-แม่ ของปลาคาร์ฟนั้น ควรพิจารณาที่สีสันสวยสดใส รูปร่างขนาดเดียวกัน อายุของปลาต้องอยู่ระหว่าง 3 ปี ถึง 10 ปี ตัวปลาขนาด 40-50 เซนติเมตรการดูเพศปลาคาร์ฟ -> การดูเพศของปลาคาร์ฟว่าตัวไหนตัวผู้ ตัวไหนตัวเมียนั้น มีข้อควรสังเกตดังนี้
1.รูปร่างตัวเมียมีขนาดใหญ่และสวยกว่า ตัวผู้รูปร่างสั้น
2.ส่วนหัวของตัวเมียได้ส่วนสัดกับลำตัว ส่วนตัวผู้หัวใหญ่ ตัวสั้น
3.ท้องตัวเมียดูอ้วนและจับดูนิ่ม ตัวผู้ท้องแห้งไม่นิ่ม
4.ครีบหางตัวเมียไม่แข็ง ตัวผู้แข็งแรงกว่า
5.ช่องทวารตัวเมียยาวตามขวาง นูนขึ้น ตัวผู้ยาวตามลำตัว แฟบและแบน เมื่อกดตรงช่องทวารตัวเมียจะมีขี้ออกมาอย่างเดียว ส่วนตัวผู้จะมีน้ำขุ่นๆ ไหลออกมา โดยเฉพาระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายนจะมีเม็ดเล็กๆ เป็นจุดขาวๆ เรียงขึ้นตั้งแต่ครีบ แก้มจนถึงช่องท้องเมื่อคัดเลือกพันธุ์ได้แล้ว เอาสาหร่ายเทียมที่ทำด้วยไนล่อนวางไว้ลงในอ่าง สำหรับเป็นที่วางไข่ให้ตัวเมียวางไข่ในเวลากลางวัน โดยตัวผู้จะไล่ให้ตัวเมียวางไข่จนหมด แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสม.....ตอนเช้า หลังจากวางไข่และผสมน้ำเชื้อแล้ว จับปลาตัวผู้และตัวเมียออก ให้ไข่เริ่มฟักตัว ภายใน 3 วัน ไข่จะเริ่มฟัก และประมาณ 15 วันต่อมา จะเป็นตัวอ่อน.....ช่วงเวลาที่เป็นตัวอ่อนนี้ ควรให้แพลงค์ตัน ลูกไรแดง หรือไข่แดงสุก กรองผ้าให้ตัวอ่อนกิน แต่ระวังอย่าให้กินมากและอย่าให้น้ำเสีย จากนั้นประมาณ 3 เดือน ลูกปลาจะเริ่มแสดงสีสันแสดงให้รู้ว่าเป็นปลาคาร์ฟชนิดไหน